ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม
ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม
ทักษะของคนในศตวรรษที่
21 ที่เขียนโดย
ศ. น.พ.วิจารณ์
พานิช ได้กล่าวว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21
ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยและตลอดชีวิตคือ
3R x 7C กล่าวคือ 3R ได้แก่ การอ่าน (Reading), การเขียน (Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ 7C ได้แก่
1. Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
2. Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
3. Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
4. Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
5. Communications, information & media
literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
6. Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
7. Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
ครูจึงต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียนจากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้
ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่
ย้ำว่าการเรียนรู้ยุคใหม่
ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหน้าที่ของครูจึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน” หรือสั่งสอนไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้
(inspire) แก่นักเรียน
ให้นักเรียนได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning by
doing) ได้พัฒนาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อน
เน้นทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้
เปลี่ยนแนวทางการทำงานจากทำคนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำเป็นทีม บทบาทของครูต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก “ครูสอน”(Teacher) ไปเป็น “ครูฝึก”
(Coach) หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้”
(Learning
Facilitator)
โอกาสนี้จะเริ่มจากทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม
ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรเน้นและส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทักษะดังกล่าวในลำดับต้น
ก่อนอื่นขอเริ่มจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ
และการนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่ยึดหลักให้ผู้เรียนช่วยกันเรียนรู้โดยพึ่งพากัน เกิดจากการร่วมมือร่วมใจในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ (ทิศนา (2552),ไพฑูรย์ และคณะ (2550),ราชบัณฑิตสถาน (2551))
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่ยึดหลักให้ผู้เรียนช่วยกันเรียนรู้โดยพึ่งพากัน เกิดจากการร่วมมือร่วมใจในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ (ทิศนา (2552),ไพฑูรย์ และคณะ (2550),ราชบัณฑิตสถาน (2551))
หลักการ
1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย
มีสมาชิก 3-6 คน
สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน
สมาชิกช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม]
2. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย
การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
และการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มเพื่อให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงาน
เทคโนโลยีเพื่อสร้างทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม
การใช้เทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนช่วยให้กระบวนการเรียนรู้
และสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จึงขอนำเสนอApplication ที่เหมาะสำหรับนักเรียนในด้าน Collaboration, teamwork
1.Popplet https://appsto.re/th/1FxVv.i เป็นแอปพลิเคชันที่เอาไว้สร้าง mind mapping หรือผังมโนทัศน์ ใช้งานง่าย สามารถพิมพ์ข้อความ วาดรูป แทรกภาพได้
2. BaiBoard 3 - Collaborative Whiteboard https://appsto.re/th/AmfYeb.iเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ใช้สร้างและทำงานร่วมกัน
โดยใช้กระดานไวท์บอร์ด การประชุมทางเสียง (voice conferencing) แทรกเอกสาร รูปภาพ แผนภูมิ ฯลฯ
3. Keynote https://appsto.re/th/ODmIv.i เป็นแอปพลิเคชันสร้างงานนำเสนอ (Presentation) ในแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน สามารถแทรกรูปภาพ , กราฟ , หรือแม้แต่แอนิเมชั่นต่างๆเข้าไปได้โดยตรง
และสามารถปรับแต่งตัวอักษร และรูปแบบการวางหน้าได้อย่าง ง่ายดาย โดยสามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้
ครั้งต่อไปจะนำเสนอการพัฒนาทักษะด้านอื่น และยกตัวอย่าง
Application ที่เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา
Skills ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ที่มา
-ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 http://61.19.73.142/km/?p=1227
-ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น